PoE กับ PoE+ กับ PoE ++ Switch จะเลือกอย่างไร
PoE หรือ Power over Ethernet เป็นการให้กระแสไฟฟ้าและส่งข้อมูลโดยใช้สายเส้นเดียวทำให้ไม่ต้องต่อเหมือนกับสาย LAN ที่จะต้องมีหลายเส้น ก็จะทำให้ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดเงินและประหยัดอุปกรณ์เป็นอย่างมาก จากการทดลองพบว่ามีความปลอดภัย ผ่านสายเคเบิลอีเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีประเภท switch ทั้งหมดคือ PoE switch, PoE+ switch และ PoE++ switch
PoE และ PoE switch คืออะไร
PoE ถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3af ในปี 2003 PoE อนุญาตให้ PD (powered device) เช่น โทรศัพท์ VoIP รับกำลังไฟ PoE สูงสุด 12.95W โดยใช้เพียงสองคู่จากสี่คู่บิดที่มีอยู่ในสายเคเบิลอีเธอร์เน็ต
PoE switch ทำหน้าที่เป็น PSE (power sourcing equipment) หรือการหาพลังงานและจ่ายพลังงานให้กับ PD ผ่านสายเคเบิลอีเทอร์เน็ต โดยทั่วไป สวิตช์ 802.3af รองรับการใช้พลังงานสูงสุด 15.4W ต่อพอร์ต PoE ที่มีช่วงแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 44V ถึง 57V และช่วงแรงดันไฟของ PD ที่เชื่อมต่อกับสวิตช์ PoE คือตั้งแต่ 37V ถึง 57V
PoE+ และ PoE+ switch คืออะไร
PoE+ (มาตรฐาน IEEE 802.3at) เป็นการอัพเกรดเทคโนโลยี PoE ให้สามารถใช้พลังงานมากขึ้นเพราะว่าความต้องการของการใช้กำลังไฟ PoE เพิ่มมากกว่า 12.95W เลยมีการอัพเกรดขึ้นเพื่อให้แก้ปัญหานี้
PoE+ switch จะทำหน้าที่เหมือนกันกับ PoE switch คือจะทำหน้าที่หาพลังงานและจ่ายพลังงานให้กับ PD ผ่านสายเคเบิลอีเทอร์เน็ตเหมือนกันแต่ PoE+ สามารถส่งพลังงานได้สูงถึง 25.5W สำหรับ PD ที่มีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 42.5V ถึง 57V กำลังไฟสูงสุดที่จ่ายโดยแต่ละพอร์ตของสวิตช์ PoE+ คือ 30W พร้อมกับช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50V ถึง 57V
PoE++ และ PoE++ Switch คืออะไร
PoE++ ก็เป็นการอัพเกรดขึ้นจาก PoE+ ซึ่งมี (มาตรฐาน IEEE 802.3bt) สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ประเภทที่ 3 เปิดใช้งานสายบิดเกลียวสองหรือสี่คู่ในสายเคเบิลทองแดงเพื่อส่งกำลังที่ PD สูงสุด 51W และประเภทที่ 4 ใช้ได้สูงถึง 71W ซึ่งมากกว่าสี่คู่บิดในสายเคเบิลอีเธอร์เน็ต
ในการอัปเกรด Power over Ethernet switch และ PoE plus switch, PoE++ switch สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 60W – 100w ในแต่ละพอร์ต
PoE, PoE+, PoE++ Switch อันไหนดีกว่ากัน
PoE | PoE+ | PoE++ | ||
---|---|---|---|---|
IEEE Standard | IEEE 802.3af | IEEE 802.3at | IEEE 802.3bt | |
PoE Type | Type 1 | Type 2 | Type 3 | Type 4 |
Switch Port Power | ||||
Max. Power Per Port | 15.4W | 30W | 60W | 100W |
Port Voltage Range | 44–57V | 50-57V | 50-57V | 52-57V |
Powered Device Power | ||||
Max. Power to Device | 12.95W | 25.5W | 51W | 71W |
Voltage Range to Device | 37-57V | 42.5-57V | 42.5-57V | 41.1-57V |
Cables | ||||
Twisted Pairs Used | 2-pair | 2-pair | 2-pair; 4-pair | 4-pair |
Supported Cables | Cat3 or better | Cat5 or better | Cat5 or better | Cat5 or better |
(แผนภูมิอ้างอิงที่สรุปข้อมูลจำเพาะโดยละเอียดระหว่าง PoE กับ PoE+ กับ PoE++)
PoE กับ PoE+ กับ PoE++ จะมีหน้าที่ทำงานเหมือนกับแหล่งจ่ายไฟจะเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเหมาะสมการใช้งานคือ
PoE switch 802.3af จะใช้เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่ต้องการการจ่ายพลังงานน้อยกว่า 15.4W เช่น โทรศัพท์ VoIP, เซ็นเซอร์แอคเซสคอนโทรล, อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบ 2 เสา และกล้องวงจรปิดแบบทั่วไป ที่ไม่สามารถแพน เอียง หรือ ซูม (RS485)
PoE+ switch จะใช้กับอุปกรณ์ที่มีการใช้ไฟมากกว่าจะรองรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล้องวงจรปิดที่ซับซ้อนมากขึ้นที่แพน เอียง หรือซูม หรือเรียกว่า RS485 เช่นเดียวกับอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบ 6 เสา และกล้องวงจรปิดระบบ IP หรือ ระบบ IP Phone ด้วยกำลังไฟที่สูงกว่า
PoE++ switch จะใช้การจ่ายพลังงานไฟฟ้ามากที่สุดเช่น ส่วนประกอบระบบการประชุมทางวิดีโอ, อุปกรณ์การจัดการอาคาร, แล็ปท็อปและทีวี
การเลือกใช้ PoE นั้นก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ใช้งานแต่ละคนเพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้งาน ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เหมาะสมที่สุด ความต้องการของการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทำให้เทคโนโลยี PoE พัฒนาจาก PoE เป็น PoE+ และ PoE++ สวิตช์ที่ใช้ PoE ยังได้อัปเกรดจากสวิตช์เครือข่าย PoE เป็นสวิตช์ PoE + และสวิตช์ PoE++ บทความนี้จะช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานทุกรูปแบบ
ขอขอบคุณ
ที่มา : https://community.fs.com/blog/poe-switch-types.html
แปลภาษาและแก้ไขโดย : PBA Supply